โรคเมลิออยด์

โรคเมลิออยด์เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เชื้อเมลิออยด์ เป็นแบคทีเรียแกรมลบ มีความทนทานต่อ สิ่งแวดล้อม สามารถเจริญได้ในภาวะเป็นกรด (pH 4.5-8) และอุณหภูมิระหว่าง 15-42 องศาเซลเซียส อาศัยอยู่ทั่วไปในดินและน้ำในแหล่งระบาดของโรค พบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว หมู แพะ แกะ อูฐ ลิงอุรังอุตัง ม้าลาย ชะนี วัลลาบี และแพนด้า โค กระบือ

ช่องทางการติดเชื้อ
1.  ทางการรับประทาน อาหารที่มีดินปนเปื้อน หรือการดื่มน้ำที่ไม่ได้ผ่านการต้มสุกและมีเชื้อปนเปื้อน
2.  ทางการหายใจ ผ่านการหายใจฝุ่นดินเข้าไปในปอด ขณะอยู่ใต้ลมฝน
3.  ทางการสัมผัสดินและน้ำ ที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าทางบาดแผลและผิวหนัง

การป้องกัน
1.  หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง
2.  ดื่มน้ำต้มสุก รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และสะอาด
3.  ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาว หรือชุดลุยน้ำเสมอ เมื่อต้องทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสดินหรือน้ำ
4.  ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งเมื่อมีฝน
5.  ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้องรัง และโรคทาลัสซีเมีย จะมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเมลิออยด์ ควรดูแลสุขภาพให้ดี และสวมอุปกรณ์ป้องปันเมื่อต้องสัมผัสกับดิน และหลีกเลี่ยงการกินน้ำบาดาลและ น้ำฝน

BACK TO TOP