ไข้หวัดนก

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่พบในนกและสัตว์ปีก สายพันธุ์ที่มีความสำคัญคือ H5N1 ซึ่งทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกในปี พ.ศ.2547-2549

สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoiridae ซึ่งเป็นไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญได้แก่ haemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) มี 9 ชนิด

เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น 3 type ได้แก่
• Type A แบ่งเป็นเซตย่อย 15 subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด
• Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
• Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน

ช่องทางการติดต่อ
1.   การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีการติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะเป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่ายการปนเปื้อนของอุจจาระ
2.   การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค ( Mechanical Transmission) มูลของสัตว์ปีกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ
3.   การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย ก็เป็นได้
4.   ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดต่อโรคผ่านไข่ไปยังฟาร์มอื่นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติดต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง

การป้องกัน
โรคไข้หวัดนก ในฟาร์มที่มีโรคระบาด ประกอบด้วย 3 หลักการที่สำคัญ คือ
1.  การป้องกันการกระจายของเชื้อ
  • ไม่ให้มีการนำสัตว์ปีกเข้าไปในสถานที่ซึ่งมีการระบาดของโรคภายหลังจากการกำจัดสัตว์ป่วย ในระยะเวลา 21 วัน
  • กำจัดวัชพืชรอบโรงเรือน และกำจัดสิ่งปูรองตลอดจนอาหารของสัตว์ป่วยนั้น
  • มีโปรแกรมควบคุมพาหะของโรค เช่น แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หนู และนก เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวนำพาเชื้อโรคจากอุจาระของสัตว์ป่วยไปยังที่ต่าง ๆ ได้
  • ป้องกันการสะสมของแหล่งน้ำภายในฟาร์ม ซึ่งเพิ่มปริมาณของนกที่เคลื่อนย้ายเข้ามา และมีโอกาสเป็นสื่อให้การแพร่กระจายของโรคขยายวงออกไป
  • กำจัดแหล่งอาหารซึ่งเป็นปัจจัยทำให้นกเข้ามาอาศัย
  • ให้ความรู้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องให้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคไปยังที่ต่าง ๆ

2. การควบคุมการเคลื่อนย้าย
  • จัดระบบควบคุมการเข้า – ออกฟาร์มของบุคคลภายนอกและบุคคลภายในฟาร์ม
  • ลดการเคลื่อนย้ายระหว่างภายในฟาร์มและภายนอกฟาร์ม โดยใช้ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ และโทรสาร
  • ให้ใช้มาตรการทำลายเชื้อโรคคนที่เข้าออกฟาร์ม
  • ไม่อนุญาตให้พนักงานขับรถยนต์ พนักงานขนส่งเข้า – ออกฟาร์มโดยที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

3. การรักษาสุขอนามัย
  • ใช้ยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค และควบคุมไม่ให้มีการปนเปื้อนอุจจาระไปกับรถหรือยานพาหนะ
  • ล้างวัสดุ อุปกรณ์และยานพาหนะด้วยผงซักฟอก และยาฆ่าเชื้อ

BACK TO TOP