THE ARTICLE

THE ARTICLE

PROCEEDINGS OF A WORKSHOP: SYSTEMATIZING THE ONE HEALTH APPROACH IN PREPAREDNESS AND RESPONSE EFFORTS FOR INFECTIOUS DISEASE OUTBREAKS

PROCEEDINGS OF A WORKSHOP SYSTEMATIZING THE ONE HEALTH APPROACH IN PREPAREDNESS AND RESPONSE EFFORTS FOR INFECTIOUS DISEASE OUTBREAKS

คู่มือประชาชนคนเลี้ยงสุนัข

คู่มือสู้โควิดสำหรับประชาชน

มาทำความรู้จักกับโรคโควิดในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย เรียนรู้สาเหตุ วิธีป้องกัน และการดูแลตัวเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดโรคนี้

องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาดของเชื้อโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ โรคอีโบลา เป็นต้น โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆ ด้าน ทั้งที่เกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติ และที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งยังอาจเกิดจากการจงใจกระทำให้เกิดขึ้น ในการเตรียมความพร้อมที่จะป้องกันและควบคุมมิให้โรคที่เกิดขึ้นใหม่แพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง ดังนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่และมาตรฐานการดำเนินงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยต่างๆ ซึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญในการจัดการปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่

แนวทางปฏิบัติป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

ในปีพ.ศ. 2561 กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพรบ. พ.ศ. 2558 เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายชนิดรุนแรงมาก ทั้งนี้สำนักวัณโรค กรมควบคุมโณค ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ร่วมจัดทำแนวทางฯ เล่มนี้เพื่อรองรับการประกาศใช้ XDR-TB เป็นโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคดื้อยาในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง

คู่มือการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการวัณโรค โรคเรื้อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ ปีงบประมาณ 2562

กลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 (สคร. 3) จังหวัดนครสวรรค์ กรมควบคุมโรค มีหน้าที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการวัณโรค โรคเรื้อน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ แก่หน่วยงานโรงพยาบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำความเข้าใจ ในการรับบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการกับผู้รับบริการ ดังนั้นกลุ่มห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านควบคุมโรคจึงได้จัดทำคู่มือการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการขึ้น เพื่อใช้เป็นคู่มือประกอบการส่งตรวจ โดยได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ขั้นตอนการส่งตรวจ เกณฑ์การปฏิเสธตัวอย่าง รายการค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรายงานผล และระยะเวลาการเก็บรักษาตัวอย่างไว้ที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการขอรับบริการของผู้รับบริการภายในหน่วยงาน

หลักสูตรวิทยากรกระบวนการการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี(เอดส์)และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2562

กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้มีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการ ในการพัฒนาศักยภาพการสื่อสาร เรื่องเอชไอวี/เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2561 พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการให้มีการพัฒนาหลักสูตรวิทยากรกระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมถึงจัดฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว ให้กับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เห็นความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นวิทยากรกระบวนการ จึงได้จัดทำหลักสูตรนี้ โดยแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและจัดทำหลักสูตรวิทยากรกระบวนการการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2562 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งได้ใช้เนื้อหาหลักสูตรวิทยากรกระบวนการการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ปี 2560 มาปรับเนื้อหาหลักสูตรให้เหมาะสมกับวิทยากรกลุ่มเป้าหมายให้มี

คู่มือการเฝ้าระวังโรคและเหตุการณ์ผิดปกติแบบมีส่วนร่วมในชุมชนด้วยซอฟต์แวร์ประยุกต์ โดยกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและสุกรเพื่อลดปัญหาโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการระบาดของโรคดังกล่าวบางชนิดในต่างประเทศแล้วแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย หากระบบการตรวจพบการเกิดโรคล่าช้าหรือระบบเฝ้าระวังและการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จะส่งผลทำให้โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ตลอดจนโรคติดเชื้ออุบัติใหม่มีโอกาสแพร่กระจายเป็นวงกว้าง และก่อให้เกิดปัญหาการระบาดของโรคที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขอนามัยและระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ กลยุทธ์ที่สำคัญในการเตรียมพร้อมรับภัยคุกคามจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนคือการดำเนินงานในรูปแบบเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียวซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายภาคส่วนและสหสาขาวิชาชีพที่จะประสานทำให้การดำเนินงานต่างๆ ตามแผนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อส่วนรวม การตรวจพบเหตุการณ์ที่ผิดปกติซึ่งเกิดในชุมชนเป็นอีกกลวิธีที่จะเพิ่มความไวในการตรวจพบการเกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้ได้ข้อมูลเสริมกับระบบ เฝ้าระวังปกติได้เป็นอย่างดี

คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสสามารถติดต่อมาสู่คนได้ผ่านทางการกัด ข่วน เลียจากสัตว์ที่มีเชื้อ ผู้ที่ได้รับเชื้อแล้วไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อผู้ป่วยแสดงอาการของโรคแล้วจะต้องเสียชีวิตทุกราย การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าจำเป็นต้องมีการดำเนินงานควบคู่กันทั้งการป้องกันโรคในคน การควบคุมและกำจัดโรคในสัตว์ จากสถานการณ์ที่ผ่านมาพบว่าสัตว์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคในคน คือ สุนัขและแมว ดังนั้นมาตรการของการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คือการป้องกันการเกิดโรคในสัตว์ โดยการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวใจของการเสริมสร้างประสิทธิภาพ การฉีดวัคซีนนั้นมีหลายประการด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือ มีการขนส่งและจัดเก็บรักษาวัคซีนอย่างมีคุณภาพ

BACK TO TOP